วันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2562

ข้อสอบ Pat

เรียนเคมีที่บ้าน

เรียนเคมีที่บ้าน

เรียนเคมีที่บ้าน

เรียนเคมีที่บ้าน

เรียนเคมีที่บ้าน

เรียนเคมีที่บ้าน

เรียนเคมีที่บ้าน

เรียนเคมีที่บ้าน

เรียนเคมีที่บ้าน

เรียนเคมีที่บ้าน

เรียนเคมีที่บ้าน

เรียนเคมีที่บ้าน

เรียนเคมีที่บ้าน

เรียนเคมีที่บ้าน

เรียนเคมีที่บ้าน
ข้อสอบ o-net

ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ

ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ

ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ

ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ

ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ

ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ

ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ

ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ

ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ

ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ

ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ

ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ

ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ

ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ
ข่าวที่7

                                          ส.แพทย์ฯยื่นผู้ตรวจการสอบสารเคมีกับม็อบ

ส.แพทย์ฯยื่นผู้ตรวจการสอบสารเคมีกับม็อบ

        นายกสมาคมแพทย์อาชีวเวชศาสตร์และสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย ยื่น ผู้ตรวจการแผ่นดินสอบการใช้แก๊สน้ำตาและสารเคมีต่อผู้ชุมนุม จ่อยื่น กสม. ต่อ

       ที่สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ญ.อรพรรณ์ เมธาดิลกกุล นายกสมาคมแพทย์อาชีวเวชศาสตร์และสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย ได้ยื่นเรื่องขอให้ ผู้ตรวจการแผ่นดิน ดำเนินการตรวจสอบ การใช้แก๊สน้ำตาและสารเคมีต่อกลุ่มผู้ชุมนุม กปปส. ในการควบการชุมนุมของของเจ้าหน้าที่ตำรวจและรัฐบาล ที่ผ่านมา เนื่องจาก พบว่า มีการใช้สารพิษที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และระบบทางเดินหายใจ
       โดย พ.ญ.อรพรรณ์ กล่าวว่า จากการวินิจฉัยอาการของผู้เข้าร่วมชุมนุมและได้รับสารเคมีต่าง ๆ นั้น พบว่า มีการแสดงอาการที่มากกว่าการแสบตามผิวหนังเท่านั้น โดย บางรายกลับมีอาการปอดอักเสบร่วมด้วย ขณะที่อีกรายนั้น มีอาการทางระบบประสาท หลังจากได้รับสารเคมีจากทางเจ้าหน้าที่เข้าไป ทำให้พูดและมีการตอบสนองที่ช้าลงด้วย ทั้งนี้ ยังพบแก๊สน้ำตาบางชนิดนั้น ออกฤทธิ์คล้ายสารไซยาไนด์ ซึ่งเป็นอันตรายมาก
ที่มา:https://www.sanook.com/news/1353609/
ข่าวที่6

เตือน "มลพิษทางอากาศ" หลังไฟไหม้ตู้คอนเทนเนอร์ ท่าเรือแหลมฉบัง พบสารอันตราย

เตือน "มลพิษทางอากาศ" หลังไฟไหม้ตู้คอนเทนเนอร์ ท่าเรือแหลมฉบัง พบสารอันตราย

กรมควบคุมมลพิษเตือนมลพิษทางอากาศสั่งเร่งอพยพประชาชน- เหตุเพลิงไหม้ตู้คอนเทนเนอร์ ท่าเรือแหลมฉบัง 
กรมควบคุมมลพิษ ได้เผยแพร่ผ่านเฟซบุ๊ก กรมควบคุมมลพิษ หรือ คพ. หลังเกิดเพลิงไหม้ ตู้คอนคอนเทนเนอร์ ท่าเรือแหลมฉบัง โดยกรมควบคุมมวลพิษ พร้อมสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาค 13 และสำนักงานทรัพยากรกรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดระยอง และปภ.ชลบุรี ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบกรณีเหตุเพลิงไหม้ตู้คอนเทนเนอร์ ท่าเรือแหลมฉบัง เมื่อเวลา 11.00 น. พบว่า ขณะตรวจสอบควบคุมเพลิงได้แล้วแต่ยังมีเขม่าควันค่อนข้างมาก เนื่องจากมีตู้คอนเทนเนอร์หลายร้อยใบที่ถูกเพลิงไหม้ เจ้าหน้าที่ดับเพลิงยังคงฉีดน้ำเลี้ยงอยู่ และจากการตรวจวัดคุณภาพอากาศในเบื้องต้น พบว่ามีค่าสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย (Total VOCs) อยู่ในช่วง1.2-2.4 ppm ค่าสารฟอร์มาลดีไฮด์ (Formaldehyde) อยู่ในช่วง 0.92-1.96 ppm
ซึ่งมีค่าเกินกว่าค่าขีดจำกัดการรับสัมผัสสารเคมีทางการหายใจแบบเฉียบพลัน ระดับที่ 1 กำหนดค่า 0.9 ppm ซึ่งเกินค่ามาตรฐานเล็กน้อย ส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจ ผิวหนังอักเสบ และระคายเคืองตา เนื่องจากเกิดกลุ่มควันจำนวนมาก อำเภอศรีราชา ได้สั่งการให้อพยพประชาชนที่อยู่ใต้ลมไปยังจุดที่ปลอดภัย และ คพ. ได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจวัดคุณภาพอากาศบริเวณชุมชนที่ได้รับผลกระทบด้วยแล้ว หากมีความคืบหน้าจะรายงานให้ทราบต่...อ่านต่อ
ที่มา:https://www.sanook.com/news/7782290/

ข่าวที่5

 สารเคมีรั่วในสระว่ายน้ำ หามเด็กส่ง รพ. นับสิบราย

สารเคมีรั่วในสระว่ายน้ำ หามเด็กส่ง รพ. นับสิบราย

          เหตุดังกล่าวเกิดขึ้น เมื่อเวลา 20.00 น. ของวันที่ 13 มี.ค. เจ้าหน้าที่หน่วยกู้ชีพต้องระดมกำลังมาช่วยเหลือเด็กนักเรียนกว่า 20 คน ที่สำลักกลิ่นเหม็นของสารเคมีที่ใช้ในการทำความสะอาดสระว่ายน้ำ ภายในสนามกีฬาองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น หลังสารเคมีที่ผสมเตรียมไว้เกิดปฏิกิริยารั่วออกมา ขณะที่เด็กกำลังเรียนว่ายน้ำภาคฤดูร้อน  โดยเจ้าที่กู้ภัยนำเด็กที่สูดกลิ่นเหม็นของสารเคมีนำส่งโรงพยาบาลขอนแก่น จำนวน 9 ราย ส่วนที่เหลือผู้ปกครองได้มารับตัวนำกลับบ้าน
        สาเหตุเบื้องต้นเกิดจากถังผสมสารเคมีสำหรับใช้ในการตกตะกอน ที่เจ้าหน้าที่ดูแลสระว่ายน้ำผสมไว้สารเคมีสำหรับให้น้ำตกตะกอน ประกอบด้วย โซดาแอช จุนสี สารส้ม ได้ทำปฏิกิริยาขึ้น แล้วเกิดควันพุ่งออกจากถังผสมสารเคมี จึงทำให้กลิ่นฟุ้งกระจายไปทั่วสระว่ายน้ำที่ขณะนั้นมีเด็กกำลังเรียนว่ายน้ำ
      ทางเจ้าหน้าที่ป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัย เขต6 ขอนแก่น ได้นำเครื่องดูดกลิ่นออกจากตัวอาคาร เพื่อเตรียมเข้าไปดูจุดห้องผสมสารเคมี โดยใช้เวลาประมาณ 20 นาที จึงสามารถไล่กลิ่นเหม็นคลอรีนออกจากพื้นที่สระว่ายได้ทั้งหมด
      ตำรวจภูธรเมืองขอนแก่น เข้าตรวจสอบสระว่ายน้ำ พร้อมกับสอบปากคำคนดูแลวระว่ายน้ำเพิ่มเติม  พร้อมเข้าไปตรวจสอบภายในสระว่ายน้ำ พบว่าน้ำมีสีขุ่นและมีฟองอ...อ่านต่อ
ที่มา:https://www.sanook.com/news/1963634/
ข่าวที่4

            ปริศนาเม็ดสีขาว ลอยติดเกลื่อนหาดแม่รำพึง 12 กิโลเมตร ลองจับดูรู้สึกเหนียว

                                           à¸›à¸£à¸´à¸¨à¸™à¸²à¹€à¸¡à¹‡à¸”สีขาว ลอยติดเกลื่อนหาดแม่รำพึง 12 กิโลเมตร ลองจับดูรู้สึกเหนียว

คลื่นซัดเม็ดสีขาวๆ คล้ายดอกเกลือ น้ำหนักเบา ลอยเกลื่อนหาดแม่รำพึง ระยะทางยาว 12 กิโลเมตร ชาวประมงอ้างยังมีอีกเพียบลอยอยู่กลางทะเล ลองจับดูพบว่าเหนียวติดมือ
         เมื่อวานนี้ (30 มี.ค.) ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งจากชาวประมงพื้นบ้าน ต.ตะพง อ.เมืองระยอง พบเม็ดสีขาวๆ ลักษณะคล้ายดอกเกลือ ถูกคลื่นซัดเกลื่อนชายหาดแม่รำพึง เป็นระยะทางตลอดชายหาดยาว 12 กิโลเมตร จึงได้ลงพื้นที่ไปตรวจสอบ ตั้งแต่บริเวณโค้งร่วมใจ ต.ตะพง
        นายวีระศักดิ์ คงณรงค์ ชาวประมงพื้นบ้านเรือเล็ก ได้พาเดินดูบริเวณชายหาด พบเม็ดสีขาวขนาดเล็กคล้ายดอกเกลือมีน้ำหนักเบา เกลื่อนชายหาดตลอดแนวและเล่าว่าเม็ดสีขาวดังกล่าวถูกคลื่นซัดเกลื่อนชายหาดมาตั้งแต่เมื่อวันที่ 29มีนาคม และยังพบเกลื่อนเต็มชายหาดอย่างต่อเนื่อง
         ทั้งนี้ เมื่อลองใช้นิ้วกดเม็ดดังกล่าวดู ก็พบว่าเนื้อสัมผัสที่แตก และรู้สึกเหนียวติดมือ ขณะที่บางคนก็บอกว่า อาจจะเป็นเม็ดพลาสติกที่ใช้ในการผลิตอุตสาหกรรม ทำให้ชาวประมงและชาวบ้านวิตกกังวลอาจจะว่ามีสารเคมีปนเปื้อนมากับน้ำทะเลหรือไม่
         นายวีระศักดิ์ เล่าว่า ขณะที่นำเรือออกไปกู้ลอบดักปลา ที่อยู่ห่างจากฝั่งประมาณ กิโลเมตร ก็พบเม็ดสีขาวๆ แบบนี้ลอยเต็มทะเล ไม่รู้ว่าจะมีผลกระทบกับสัตว์น้ำหรือไม่ ทั้งนี้จากการกู้ลอบดักปลาในทะเล ก็ยังพบว่าปลาบางตัวมีแผลเปื่อย ทั้งที่ยังมีชีวิตอยู่
                                       news03-1
       นอกจากนี้ก็ยังเจอขวดยาและสายน้ำเกลือลอยในน้ำทะเลด้วย รวมทั้งแกลลอนพลาสติกสีดำขนาด 5 ลิตร บรรจุน้ำมันเครื่องใช้แล้วลอยในทะเล ตนจึงเก็บกู้ขึ้นมาไว้บนฝั่ง
       จากการสอบถามเจ้าของร้านค้าริมชายหาด ก็เล่าว่า ขณะนักท่องเที่ยวมานั่งเตียงผ้าใบชายหาด เห็นเม็ดสีขาวจำนวนมากตามแนวชายหาด จึงเดินมาถามว่า ทำไมชายหาดถึงมีดอกเกลือเต็มไปหมด จึงออกไปดูก็ไม่รู้ว่าเป็นเม็ดอะไรคล้ายดอกเกลือ แต่ไม่ใช่ดอกเกลือ แต่ก็ไม่แน่ใจว่าเป็นสารเคมีหรือไม่ จึงฝากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรีบเก็บกวาดชายหาดโดยเร็ว เพราะตั้งแต่ค้าขายมาก็ไม่เคยเห็นเม็ดสีขาวๆ เช่นนี้ มีแต่คราบน้ำมันที่มักจะเจอบ่อยๆ
        นายประยูร พงศ์พันธ์ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้า-หมู่เกาะเสม็ด ต.เพ อ.เมือง กล่าวว่าได้ให้เจ้าหน้าที่รีบดำเนินการเก็บกวาดเม็ดสีขาวตามชายหาดโดยเร็ว พร้อมให้เจ้าหน้าที่ไปแจ้งความไว้เป็นหลักฐาน.
        ขณะที่ นายธานี จารุนัฎ ผู้อำนวยการศูนย์ควบคุมมลพิษระเบียงเศรษฐกิจ จ.ระยอง เดินทางมาตรวจสอบพร้อมเก็บตัวอย่างเม็ดสีขาวไปตรวจสอบ จากการใช้นิ้วบี้ดูก็รู้สึกว่าเหนียวติดมือ จึงไม่น่าจะเป็นสารเคมี น่าจะเป็นวัตถุดิบเม็ดพลาสติก แต่ยังไม่แน่ใจว่ามาจากเรือที่ขนส่งมาหรือไม่
ที่มา:https://www.sanook.com/news/7729867/
 ข่าวที่2

กรมควบคุมมลพิษยืนยันอากาศแหลมฉบัง "พ้นวิกฤต" แต่ยังต้องติดตามสถานการณ์เป็นระยะ

                                        à¸à¸£à¸¡à¸„วบคุมมลพิษยืนยันอากาศแหลมฉบัง "พ้นวิกฤต" แต่ยังต้องติดตามสถานการณ์เป็นระยะ

       กรมควบคุมมลพิษ (คพ.) โพสต์เฟซบุ๊กความคืบหน้ากรณีเพลิงไหม้ตู้คอนเทนเนอร์บริเวณท่าเรือ A2 ท่าเรือแหลมฉบัง ยืนยัน สถานการณ์มลพิษทางอากาศกลับสู่ภาวะปกติแล้ว เจ้าหน้าที่ดับเพลิงสามารถควบคุมเพลิงจนอยู่ในสภาวะปกติได้ในช่วงเวลา 24.00 น. และเมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมาบริษัท AKOil จะเข้ามานำน้ำและโฟมที่ใช้ดับเพลิงไปบำบัด
   สำหรับผลการตรวจวัดคุณภาพอากาศในชุมชนโดยรอบท่าเรือแหลมฉบังเมื่อวานนี้ ช่วงเวลา 17.57 -18.36 น. ได้แก่ 1.บริเวณชุมชนบ้านา 2.จุดรวมพล วัดบ้านนา และ 3.บริเวณชุมชนแหลมฉบัง ตรวจไม่พบทั้งสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย (Total VOCs) สารฟอร์มาลดีไฮด์ (Formaldehyde) และก๊าซคลอรีน (CI2) ต่อมาเวลา 19.15 น. ได้เข้าตรวจวัดคุณภาพอากาศบริเวณภายในท่าเรืออุตสาหกรรมแหลมฉบัง จำนวน จุด ได้แก่ จุดท่าเทียบเรือ A1, A0, บริเวณป้อมยาม A0, B1-B2, B2-B3, B5 ตรวจไม่พบทั้งสารTotal VOCs สาร formaldehyde และ Cl2 มีเพียงจุดท่าเทียบเรือB3-B4 ตรวจพบสารformaldehyde อยู่ในช่วง 0-0.01 ppm Cl2 อยู่ในช่วง 0-0.1 ppm ซึ่งไม่เกินค่าขีดจำกัดการรับสัมผัสสารเคมีทางการหายใจแบบเฉียบพลันระดับ1และตรวจไม่พบ Total VOCs (ค่าขีดจำกัดการรับสัมผัสสารเคมีทางการหายใจแบบเฉียบพลันระดับ กำหนดสารformaldehyde ไม่เกิน 0.9 ppm และสาร Cl2 ไม่เกิน 0.5 ppm) เบื้องต้นได้ให้คำแนะนำให้ผู้ปฏิบัติงานภายในพื้นที่ให้ใส่หน้ากากป้องกันสารดังกล่าว หรือหากมีอาการผิดปกติให้ไปพบแพทย์ทันทีอย่างไรก็ตาม คพ. จะร่วมกับ สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาค 13 สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมชลบุรี กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝัง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ติดตามตรวจสอบผลกระทบทางอากาศ และทางทะเลเป็นระยะ หากมีความคืบหน้าจะรายงานให้ทราบต่อไป
ข่าวที่1
      นร.เสี่ยงอันตราย! ผลวิจัยพบอาหารกลางวันปนเปื้อนยาฆ่าแมลง
                             
  "มูลนิธิการศึกษาไทย" เผยผลวิจัยตรวจหาสารตกค้างในอาหารกลางวันเด็กนักเรียน พบยาฆ่าแมลงในผัก ผลไม้เกือบ100% ขณะที่ในปัสสาวะครู-นักเรียน มีสารเคมีตกค้างถึง 99%
          นายมารุต จาติเกตุ เลขาธิการมูลนิธิการศึกษาไทย เปิดเผยว่า ทางมูลนิธิฯได้ดำเนินการศึกษาวิจัยตามโครงการการจัดการสารเคมีในระดับท้องถิ่น และการส่งเสริมการบริโภคอาหารกลางวันที่ปลอดภัยใน 55 โรงเรียน จาก จังหวัด คือ เชียงใหม่ 20 แห่ง ปทุมธานี 11 แห่ง สกลนคร 12 แห่ง และพังงา 12 แห่งระหว่างเดือนกรกฎาคม 2560 - ตุลาคม 2561 ที่ผ่านมา โดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) องค์กร The Field Alliance มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ Greenpeace Thailand
          ผลจากการตรวจหาสารตกค้างในอาหารกลางวันโรงเรียน ในผักที่โรงเรียนใช้มากที่สุด และบ่อยที่สุด ชนิด ภาค พบว่าเด็กทุกภาคกินผักเหมือนกันเกือบทุกชนิด เช่น แครอท กะหล่ำปลี ถั่วฝักยาว ผักกาดขาว ผักกวางตุ้ง คะน้า มะเขือเจ้าพระยา มะเขือเทศ และในการตรวจได้ส่งเข้าห้องแล็ป และตรวจเพียง กลุ่ม คือ ออร์กาโนฟอสเฟต (organophosphate) กับ พัยรีธรัม (pyrethrum) เพราะได้สำรวจชาวบ้านแล้วว่าใช้อะไรบ้าง ปรากฏว่ามีการใช้สารฆ่าแมลงกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตมากในผักกับผลไม้ โดยเฉพาะผักที่ส่งตรวจ ชนิด พบเกือบ 100% และสารที่พบมากที่สุด คือคลอร์ไพริฟอส ส่วนสารฆ่าแมลงพัยรีธรัม ก็ใช้มากพอๆ กับคาร์บาเมต คือ 92%นายมารุต กล่าวว่า ที่น่าตกใจคือมีการตรว...อ่านต่อ
 ที่มา:https://www.posttoday.com/social/general/573610

บทที่3 สมบัติของธาตุและสารประกอบ

บทที่3 สมบัติของธาตุและสารประกอบ


สมบัติของสารประกอบของธาตุตามคาบ
สมบัติของสารประกอบคลอไรด์ของธาตุในคาบ 2 และ 3 
              สารประกอบดลอไรด์
คุณสมบัติ
สารประกอบคลอไรด์ของโลหะ
สารประกอบคลอไรด์ของอโลหะ
จุดเดือด
สูง
ต่ำ
จุดหลอมเหลว
สูง
ต่ำ
ความเป็นกรด-เบสของสารละลาย
กลาง
ยกเว้น
BeClและ NaClซึ่งป็นกรด
กรด
สารที่ไม่ละลายน้ำ
 CCl4  NCl5
-

สมบัติของสารประกอบออกไซด์ของธาตุในคาบ 2 และ 3
               สารประกอบออกไซด์
คุณสมบัติ
สารประกอบออกไซด์ของโลหะ
สารประกอบออกไซด์ของอโลหะ
จุดเดือด
สูง
ต่ำ
จุดหลอมเหลว
สูง
ต่ำ
ความเป็นกรด-เบสของสารละลาย
เบส
กรด
สารที่ไม่ละลายน้ำ
 BeO  Al3O3
SiO2

สมบัติของธาตุแต่ละหมู่

ธาตุหมู่ โลหะอัลคาไลน์ 1. มีเวเลนส์อิเล็กตรอนเท่ากับ 1 2. มีเลขออกซิเดชัน +1


3. ทำปฏิกิริยาได้ดีมาก จึงไม่พบโลหะหมู่ ในธรรมชาติ แต่จะพบในสารประกอบ สารประกอบทุกตัวเป็นพันธะไอออนิก 4. สารประกอบของโลหะหมู่ ละลายน้ำได้ทุกตัว5. ทำปฏิกิริยารุนแรงกับน้ำ  ได้ด้างและแก๊ส H2
6. ความหนาแน่นต่ำ ลอยน้ำได้ จุดเดือด จุดหลอมเหลว ไม่สูงนัก  ธาตุหมู่ II โลหะอัลคาไลน์เอิร์ท
1. มีเวเลนส์อิเล็กตรอนเท่ากับ 2 2. มีเลขออกซิเดชัน +2
3.ทำปฏิกิริยาได้ดี พบโลหะหมู่ II ในธรรมชาติและพบในรูปสารประกอบ สารประกอบส่วนใหญ่เป็นพันธะไอออนิก ยกเว้น Be
4. สารประกอบของโลหะหมู่ II ส่วนใหญ่ ละลายน้ำได้ดี แต่จะไม่ละลายน้ำถ้าเป็นสารประกอบของ CO32-    SO42-    PO43- ยกเว้น MgSO4
5. ทำปฏิกิริยากับน้ำ  ได้ด่างและแก๊ส H2

ธาตุหมู่ VI ชาลโคเจน 1. มีเวเลนส์อิเล็กตรอนเท่ากับ 6
2. มีเลขออกซิเดชันได้หลายค่า ตั้งแต่ -2 ถึง+6
3. จุดเดือด จุดหลอมเหลวสูงมากเมื่อเทียบกับหมู่VII  ส่วนใหญ่เป็นสารประกอบประเภทโครงร่างตาข่าย

ธาตุหมู่ 
VII เฮโลเจน 1. มีเวเลนส์อิเล็กตรอนเท่ากับ 7
2. มีเลขออกซิเดชันได้หลายค่า ตั้งแต่ -1 ถึง +7
3. เป็นธาตุหมู่เดียวที่โมเลกุล มี 2 อะตอมเรียกว่า Diatomic Molecule
4. พบเป็นธาตุอิสระในธรรมชาติ และพบในรูปของสารประกอบไอออนิกและโคเวเลนต์5. สารประกอบของหมู่ VII ส่วนใหญ่ละลายน้ำได้ดี ยกเว้นเป็นสารประกอบของ  Ag  Hg     Pb
ธาตุหมู่ VIII แก๊สเฉื่อย แก๊สมีตระกูล , Inert gas , Noble gas1. มีเวเลนส์อิเล็กตรอนเท่ากับ 8 ยกเว้น He มีเท่ากับ 2
2. เฉื่อยชาต่อการเกิดปฏิกิริยามาก แต่สามารถสังเคราะห์ได้ 
3. มีค่า IE (Ionization Energy) สูงสุดในตาราง   และ He มีค่า IE สูงที่สุดในตารางธาตุ 4. เป็นธาตุเดียวที่ไม่มีค่า EN 




ตำแหน่งของธาตุไฮโดรเจนในตารางธาตุ 

การจัดธาตุให้อยู่ในหมู่ของตารางธาตุจะใช้สมบัติที่คล้ายกันเป็นเกณฑ์
สมบัติ
ธาตุหมู่ IA
ธาตุไฮโรเจน
ธาตุหมู่ VIIA
จำนวนวาเลนซ์อิเล็กตรอน
1

1
7
เลขออกซิเดชันในสารประกอบ
+1
+1และ-1
+1  +3 +5 +7 -1
ค่า IE
382-526
1318
1015-1687
อิเล็กโทรเนกาติวิตี
1.0-0.7
2.1
4.0-2.2
สถานะ
ของแข็ง
แก๊ส
แก๊ส/ของเหลว/ของแข็ง
การนำไฟฟ้า
นำ
ไม่นำ
ไม่นำ

สรุป ธาตุไฮโดรเจนมีสมบัติคล้ายหมู่ VIIA หลายหระการ แต่ไม่สามารถนำธาตุไฮโดรเจนมาจัดในหมู่ VIIA ได้ เพราะ จะทำให้แนวโน้มของสมบัติบางประการของธาตุหมู่VIIA เสียไป ปัจจุบันจึงจัดธาตุไฮโดรเจน อยู่ในคาบที่ 1 อยู่ระหว่างหมู่ IA กับ VIIA  



ธาตุทรานซิชัน 
                ธาตุทรานซิชัน ประกอบด้วยธาตุ หมู่ 
IB ถึงหมู่ VIIIB รวมทั้งกลุ่มแลนทาไนด์กับกลุ่มแอกทิไนด์ 
1. อยู่ระหว่างหมู่IIA กับหมู่ IIIA เริ่มตั้งแต่คาบ 4 เริ่มที่เลขอะตอม 21 
2.การจัดเรียงอิเล็กตรอนจะต่างจากธาตุโดยทั่วไป คือ จะจัดเรียงอิเล็กตรอนวงนอกสุดก่อน แล้วจัดอิเล็กตรอนวงรองจากวงนอกสุดเป็นวงสุดท้าย3.การดึงอิเล็กตรอนให้หลุดจากอะตอม จะดึงอิเล็กตรอนวงนอกสุดก่อน เช่นเดียวกับธาตุปกติ4.ธาตุทรานซิชัน จะมีเวเลนต์อิเล็กตรอน เป็น 2,1 เท่านั้น  ยกเว้น Cr กับ Cu มีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับ 1
5.ธาตุทรานซิชัน จะมีสมบัติเหมือนกันเป็นคาบมากกว่าเป็นหมู่
6.ความหนาแน่นของธาตุทรานซิชันจะสูงมาก และในคาบเดียวกันจะมีความหนาแน่นที่ใกล้เคียงกัน
7.จุดเดือดและจุดหลอมเหลวของธาตุทรานซิชันจะสูงมาก และสูงมากกว่าหมู่IAและหมู่IIA
8.ค่า IE , EN , E0 ของธาตุทรานซิชันจะสูงมากกว่าโลหะโดยทั่วไป9.ขนาดอะตอมของธาตุทรานซิชันที่เรียงตามคาบจากซ้ายไปขวาจะมีขนาดเล็กลง แต่ใกล้เคียงกันมาก เพราะโลหะทรานซิชัน มีความหนาแน่นสูง 10.ธาตุทรานซิชัน มีเลขออกซิเดชันหลายค่า  ยกเว้น Sc กับ Zn มีเลขออกซิเดชันเพียงค่าเดียว
 

สารประกอบของธาตุทรานซิชัน 

1.การเกิดสี
              
1.สีของธาตุทรานซิชันจะเปลี่ยนเมื่อเลขออกซิเดชันเปลี่ยน เช่น Si

สูตร
ชื่อ
สี
Cr2+
โครเมียม(II)ไอออน
น้ำเงิน
Cr3+
โครเมียม(III)ไอออน
เขียว
CrO42-
โครเมตไอออน
เหลือง
Cr2O72-
ไดโครเมตไอออน
ส้ม
Mn2+
แมงกานีส(II)ไอออน
ชมพูอ่อนไม่มีสี
Mn(OH)3*
แมงกานีส(III)ไฮดรอกไซด์
น้ำตาล
MnO2*
แมงกานีส(IV)ออกไซด์
ดำ
MnO42-
แมงกาเนตไอออน
เขียว
MnO4-
เปอร์แมงกาเนตไอออน
ม่วงแดง


                 
2.สีจะเปลี่ยนถ้าสารหรือไอออนต่างชนิดกันมาล้อมรอบ เช่นCuSO4.5H2สีฟ้า  และ Cu(NH3)4SOสีคราม
               
3.สีเปลี่ยนเพราะจำนวนสารที่มาเกาะไม่เท่ากัน เช่น CrO42-สีเหลือง และ Cr2O72-
2.สารประกอบเชิงซ้อนของธาตุทรานซิชัน
               สารประกอบของธาตุทรานซิชันชนิดต่างๆ เช่น 
KMnO4 ประกอบด้วย K+ และ MnO-4     ซึ่ง MnO-4 จัดเป็นไอออนเชิงซ้อน ที่มีธาตุทรานซิชันเป็นอะตอมกลางและยึดเหนี่ยวกับอะตอมหรือไอออนอื่นๆที่มาล้อมรอบด้วยพันธะโคเวเลนต์
               สารประกอบที่ประกอบด้วยไอออนเชิงซ้อนจัดเป็นสารประกอบเชิงซ้อน  ธาตุทรานซิชันส่วนใหญ่จะเกิดเป็นสารประกอบเชิงซ้อนที่มีสีต่างกัน
               ปัจจัยที่มีผลต่อสีของสารประกอบเชิงซ้อนของธาตุทรายซิชัน
                
เลขออกซิเดชันของธาตุทรานซิชัน               - ชนิดของธาตุทรานซิชัน
               
จำนวนโมเลกุลหรือไอออนที่ล้อมรอบธาตุทรานซิชัน 

ธาตุกึ่งโลห 

               มีคุณสมบัติดังนี้
               
1.มีค่า IE และ EN  ค่อนข้างสูง
               
2.จุดเดือด จุดหลอมเหลว สูง
               
3.มีความหนาแน่นสูง
               
4.สามารถนำไฟฟ้าได้
               
5.สามารถเกิดสารประกอบได้ ทั้งสารประกอบไอออนนิกและสารประกอบโคเวเลนต์

ธาตุกำมันตรังสี

ธาตุกัมมันตรังสี คือ ธาตุที่มีสมบัติในการแผ่รังสี
กัมมันตภาพรังสี คือ ปรากฏการณ์ที่ธาตุแผ่รังสีได้อย่างต่อเนื่อง
    การแผ่รังสี เป็นการเปลี่ยนแปลงภายในนิวเคลียสของไอโทปที่ ไม่เสถียร(ไอโซโทปของนิวเคลียสที่มีอัตราส่วนระหว่างจำนวนนิวตรอนต่อจำนวนโปรตอนไม่เหมาะสม)   เนื่องจากนิวเคลียสของธาตุกัมมันตรังสีมีพลังงานสูงมากและไม่เสถียร จึงปล่อยพลังงานออกมาในรูปของอนุภาคหรือรังสีบางชนิด แล้วธาตุเหล่านั้นก็จะเปลี่ยนเป็นธาตุใหม่


ชนิดและสมบัติของรังสีบางชนิด

รังสีแอลฟาหรือ อนุภาคแอลฟา 

  อนุภาคประกอบด้วย 2 โปรตอน 2 นิวตรอน เหมือนนิวเคลียสของอะตอมฮีเลียม มีเลขมวล 4
  
มีประจุไฟฟ้า +2
  
มีอำนาจทะลุทะลวงต่ำมาก ไม่สามารถผ่านแผ่นกระดาษหรือโลหะบางๆได้
  
เบี่ยงเบนในสนามแม่เหล็ก โดยเบนเข้าหาขั่วลบ
รังสีบีตา หรือ อนุภาคบีตา
  
มีสมบัติเหมือนอิเล็กตรอน
  
มีประจุไฟฟ้า -1 มีมวลเท่ากับมวลอิเล็กตรอน
  
มีอำนาจทะลุทะลางมากกว่า รังสีแอลฟา ถึง 100 เท่า  สามารถผ่านโลหะแผ่นบางๆ
  
มีความเร็วใกล้เคียงความเร็วแสง
  
เบี่ยงเบนในสนามแม่เหล็ก โดยเบนเข้าหาขั่วบวก
รังสีแกมมา 
  
เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความยาวคลื่นสั้นมาก
  
ไม่มีประจุไม่มีมวล
  
มีอำนาจทะลุทะลวงสูงมาก สามารถผ่านแผ่นคอนกรีตหนาๆได้



ครึ่งชีวิตของธาตุกัมมันตรังสี 
               ธาตุกัมมันตรังสีแต่ละชนิดจะสลายตัวได้เร็วหรือช้าแตกต่างกัน ปริมาณการสลายตัวของธาตุกัมมันตรังสีจะบอกเป็น ครึ่งชีวิต(ระยะเวลาที่นิวเคลียสของธาตุกัมมันตรังสี สลายตัวจนเหลือครึ่งหนึ่งของปริมาณเดิม)   ครึ่งชีวิตเป็นสมบัติเฉพาะตัวของแต่ละไอโซโทป

ประโยชน์ของธาตุกัมมันตรังสี 
ด้านธรณีวิทยา 
               
C-14                      หาอายุของวัตตุโบราณที่มีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบ
ด้านการแพทย์
               
I-131     ตรวจดูความปกติของต่อมไธรอยด์
               
I-132     ตรวจดูภาพสมอง
                
Na-24    ตรวจดูระบบการไหลเวียนของเลือด
                
Co-60,Ra-226   รักษาโรคมะเร็ง
                
P-32       รักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว
ด้านการเกษตร 
                
P-32                       ตรวจวัดรังสีที่ใบของพืช
                ปรับปรุงเมล็ดพันธุ์พืช
                
Co-60    ทำลายแบคทีเรีย,ถนอมอาการ
ด้านการอุสาหกรรม
                รังสีทำให้อัญมณีมีสีสันสวยงามขึ้น
                ตรวจหารอยรั่วของท่อส่งน้ำมัน
ด้านพลังงาน
                U-235,U-238,Pu-239   ผลิตไฟฟ้าในโรงไฟฟ้าปรมาณู


  โทษของธาตุกัมมันตรังสี
               เมื่อร่างกายได้รับรังสีจำนวนมาก
ทำให้โมเลกุลของน้ำ สารอินทรีย์และสารอนินทรีย์ต่างๆ ในร่างกายเสียสมดุล  ทำให้เกิดความเสียหายต่อเซลล์ในร่างกาย ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ  อาจทำให้เซลล์เกิดการเปลี่ยนแปลงหรือกลายพันธุ์  และรังสีแอลฟาจะทำลายเซลล์เม็ดเลือดแดง

ปฏิกิริยานิวเคลียร์ 
                เป็นการเปลี่ยนแปลง ในนิวเคลียสของธาตุ และมีพลังงานเกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาจำนวนมหาศาล
ปฏิกิริยาฟิชชัน
               คือ กระบวนการที่นิวเคลียสของธาตุหนักบางชนิดแตกออกเป็นไอโซโทปของธาตุที่เบากว่า ในการเกิดปฏิกิริยาในแต่ละครั้งจะคายพลังงานออกมาจำนวนมาก และได้ไอโซโทปกัมมันตรังสีหลายชนิด รวมถึงได้นิวตรอน ถ้านิวตรอนที่เกิดขึ้นใหม่นี้ชนกับนิวเคลียสอื่นๆ ก็จะทำให้เกิดปฏิกิริยาฟิชชันต่อไปเรื่อยๆเรียกปฏิกิริยานี้ว่า ปฏิกิริยาลูกโซ่

ปฏิกิริยาฟิวชัน
                คือ กรณีที่นิวเคลียสของธาตุเบาสองชนิดหลอมรวมกันเกิดเป็นนิวเคลียสใหม่ที่มีมวลสูงกว่าเดิม และให้พลังงานปริมาณมาก  การเกิดปฏิกิริยาฟิวชันจะต้องใช้พลังงานเริ่มต้นสูงมาก เพื่อเอาชนะแรงผลักระหว่างนิวเคลียสที่จะเข้ารวมกัน
 
ข้อสอบ หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 สมบัติของธาตุและสารประกอบ


1.     ธาตุซึ่งมีเลขอะตอมต่อไปนี้  ข้อใดมีค่า IE1 เรียงตามลำดับจากน้อยไปหามาก
        ก. 8, 9, 10, 11, 12                                      ข. 12, 11, 10, 9, 8
        ค. 11, 12, 8, 9, 10                                      ง. 10, 9, 8, 12, 11

2.     พิจารณาธาตุ 3Li , 4Be , 5B และ 6C ค่า IE3 ของธาตุใดมีค่ามากที่สุด
        ก. Li                   ข. Be              ค. B            ง. C

3.     ธาตุ Li ทำปฏิกิริยากับธาตุ A ในสารประกอบ X ซึ่งทำปฏิกิริยากับน้ำรุนแรงในสารละลายเป็นเบส เลขออกซิเดชันของ A ในสารประกอบ X มีค่าเป็น -1 สารประกอบ X คืออะไร
        ก. Li2O          ข. Li3N           ค. LiH         ง. LiCl

4.     การที่ธาตุแทรนซิชันสามารถเกิดสารประกอบได้หลายอย่าง เพราะ
        ก. มีเวเลนต์อิเล็กตรอนมาก                        ข. เป็นโลหะที่จัดไว้เป็นกลุ่มพิเศษ
        ค. มีเลขออกซิเดชันได้หลายค่า                  ง. พลังงานไอออไนเซชันลำดับ 1-3 มีค่าต่ำ

5.     สารประกอบต่อไปนี้ข้อใดมีสี
        ก. K2SO4 , MnCl2                                        ข. K2Cr2O7 , Fe(OH)3
        ค. Cl2O , Co(NO3)2                                     ง. Ni(NH3)2+6 , RbCl

6.    สิ่งที่เหมือนกันในระหว่างธาตุต่าง ๆ ที่อยู่ในหมู่เดียวกันในตารางธาตุ คือ
ก.       มีค่าพลังงานไอออไนเซชันลำดับที่ 1 เท่ากัน
ข.       มีการจัดเรียงตัวของอิเล็กตรอนเหมือนกัน
ค.       มีการจัดเรียงตัวของอิเล็กตรอนของระดับพลังงานชั้นนอกสุดเหมือนกัน
ง.       มีขนาดใกล้เคียงกันมาก

7.    สารประกอบคลอไรด์ที่มีจุดหลอมเหลวต่ำที่สุด คือ
       ก. NaCl                                                    ข. CaCl2
       ค. NCl3                                                     ง. LiCl

8.     เลขออกซิเดชันของซีนอนในสารประกอบใดมีค่าสูงที่สุด
        ก. Na4XeO6                      ข. XeOF4               ค. H6XeO6                  ง. XeF4

9.    ถ้าอะตอมของอาร์เซนิกได้รับ 3 อิเล็กตรอนเพิ่มขึ้น จะได้อนุภาคที่มีการจัดอิเล็กตรอน เหมือนกับอะไร
       ก. อาร์กอน                                              ข. โบนมีน
       ค. คลิปตอน                                            ง. อันติโมนี

กำหนดเลขอะตอมของธาตุดังนี้

10.    ธาตุที่มีอิเล็กโตรเนกาติวิตีสูงที่สุดและไอออนที่มีขนาดเล็กที่สุดตามลำดับ ที่ถูกต้องควรเป็นข้อใด
         .   C,A2+                           . A,B+                   . B,C                         . C,B+

11.    ในกรณีที่พบว่ามีโลหะโซเดียมเหลือใช้จากปฏิกิริยา เมื่อต้องการจะทำลายโลหะโซเดียมให้เป็นสารประกอบที่เฉื่อยลง ท่านควรจะเติมสารใดต่อไปนี้
         ก. น้ำบริสุทธ์                                          ข. น้ำผสมกรดเล็กน้อย
         ค. เอธานอล                                            ง. เฮกเซน

12.    ธาตุใดต่อไปนี้มีความว่องไวต่อการเกิดปฏิกิริยามากที่สุด
         ก. F2                                                        . O2
         ค. Na                                                      ง. Cl2

13.    สาร A เป็นธาตุมีสมบัตินำไฟฟ้าได้ ทั้งซัลไฟด์และคลอไรด์ของ A เป็นของเหลวที่ไม่ละลายในน้ำ สาร A ควรเป็นธาตุใด
         ก. Ca                                  ข. N                         ค. C                          ง. Sn

14.    เมื่อนำ CaO ไปละลายน้ำ จะได้สารใดเป็นผลิตภัณฑ์
         ก. CaOH                           ข. H2                         ค. Ca(OH)2                 ง. O2

15.    ข้อใดเป็นประโยชน์ของสารประกอบคลอไรด์
         ก. ใช้ฆ่าเชื่อโรค                                     ข. ใช้ในอุตสาหกรรมฟอกสี
         ค. ใช้เป็นตัวทำละลาย                            ง. ถูกทั้งข้อ ก. ข. และ ค.

16.    ธาตุที่เป็นกาซชนิดหนึ่งมีจุดหลอมเหลว  และจุดเดือดต่ำมาก ไม่ทำปฏิกิริยากับคลอรีนและออกซิเจน ธาตุนี้ควรจะอยู่รวมกลุ่มกับธาตุใด
         ก. โลหะ                                                 ข. อโลหะ
         ค. กึ่งโลหะ                                             ง. ธาตุมีตระกูล

17.    แร่แคสซิเทอไรต์ มีสูตรเคมีอย่างไร
         ก. SiO2                                                  .Fe2O3
         ค. SnO2                                                 ง. ZnS

18.    ธาตุในกลุ่มใดที่ประกอบด้วยธาตุแทรนซิชันทั้งหมด
         ก. Fe  Si  Sb  Rb                                    ข. Fe  Al  Cu  Fr
         ค. Fe  Co  Te  AT                                  ง. Fe  Cu  Cr  Mn

19.    ข้อความต่อไปนี้ข้อใดถูกต้อง
              1. รังสรแอลฟา มีสัญลักษณ์เขียนแทนเป็น 42He
              2. รังสีบีตามีอำนาจทะลุทะลวงสูงมาก
              3. รังสีแกมมาเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความยาวสั้นมาก ไม่มีประจุและมวล
         ก. ข้อ 1. และ 2     ข. ข้อ 2 และ 3   ค. ข้อ 1 และ 3        ง. ข้อ 1,2 และ 3
  
20.    จากปฏิกิริยาต่อไปนี้

X,Y และ Z คืออนุภาคใดตามลำดับ

21.    ข้อใดเกี่ยวกับรังสีแอลฟา
         ก. ไม่สามารถทะลุทะลวงผ่านกระดาษหรือโลหะบาง ๆ ได้
         ข. ประกอบด้วยโปรตอนและนิวตรอนอย่างละสองอย่าง
         ค. เมื่ออยู่ในสนามไฟฟ้าจะเบี่ยงเบนไปทางขั้วบวก
         ง. วิ่งผ่านอากาศอาจทำให้อากาศแตกตัวเป็นไอออนได้

22.    ชนิดของการแผ่รังสีต่อไปนี้ รังสีใดไม่เบี่ยงเบนในสนามแม่เหล็ก
        ก. รังสี-X                          ข. รังสีแกมมา              ค. รังสีบีตา                ง. นิวตรอน

23.    กระบวนการใดที่มีเลขอะตอมเพิ่มขึ้น 1 หน่วย
        ก. การแผ่รังสรแอลฟา                                          ข. การแผ่รังสีบีตา     
        ค. การแผ่รังสีแกมมา                                            ง. การแผ่รังสีโปซิตรอน

24.   ไอโซโทปกัมมันตรังสีมีอัตราการสลายตัวภายหลัง 96 นาที เหลือเพียงหนึ่งส่วนแปดของมัน เดิมที่มีอยู่ ครึ่งชีวิตของไอโซโทปกัมมันตรังสีมีค่าเท่าไร
        ก. 12.0 นาที                       ข. 24.0 นาที                ค. 32.0 นาที              ง. 48.0  นาที
25.   ธาตุกัมมันตรังสีใดที่ใช้ในการคำนวณหาอายุของวัตถุโบราณ คือ
        . I-131
        . Co-60
        . C-14
        . P-32
26.    ปฏิกิริยาลูกโซ่นี้ถ้าไม่มีการควบคุม จะเกิดปฏิกิริยารุนแรงเรียกว่าอะไร
         ก. ลูกระเบิดปรมาณู      ข. ระเบิดลูกโซ่              ค. ระเบิดนิวเคลียร์     ง. ถูกทุกข้อ

27.    ธาตุกัมมันตภาพรังสี Co – 60 นำมาใช้ประโยชน์อย่างมากมายยกเว้นข้อใด
         ก. รักษาโรคมะเร็ง                                                          ใช้ในการถนอมอาหาร
         กำจัดวัชพืช                                                                 การหาอายุวัตถุโบราณ

28.    การใช้ไอโซโทปของธาตุกัมมันตภาพรังสีตรวจหา รอยรั่ว รอยตำหนิ ของโลหะเป็นการใช้ประโยชน์ทางด้านใด
         อุตสาหกรรม                                                               ธรณีวิยา
         การแพทย์                                                                    การขนส่ง

29.    วิธีการตรวจสอบธาตุกัมมันตรังสีวิธีใดที่ปลอดภัยและได้ผลแม่นยำที่สุด
          ใช้ฟิลม์หุ้มสารที่ตรวจสอบ                                      ใช้สารเรืองแสงตรวจสอบ
          ใช้เครื่องมือไกเกอร์มูลเลอร์เคาน์เตอร์                  หลอดรังสีแคโทด

30.    ธาตุกัมมันตรังสีนำมาใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวางยกเว้นข้อใด
         ด้านการแพทย์                                                              ด้านเกษตรกรรม
         ด้านอุตสาหกรรม                                                         ด้านบันเทิง

คำชี้แจง ใช้ข้อมูลต่อไปนี้ตอบคำถามข้อ  31-33

31.    สมบัติของธาตุ I และ G ข้อใดถูกต้อง
         ก. ธาตุ I มีคาพลังงานไอออไนเซชันสูงกว่าธาตุ     ข. ขนาดไอออนของธาตุ I ใหญ่กว่าของ G
         ค. ธาตุ I มีเวเลนต์อิเล็กตรอนมากกว่าตุ G              ง. ธาตุ I มีจุดเดือดมากกว่าธาตุ G
  
32.    ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับสมบัติของสารประกอบของธาตุในคาบที่ 2 และ 3
         ก. คลอไรด์ของ O ละลายน้ำได้ สารละลายแสดงสมบัติเป็นกรด
         ข. คลอไรด์ของ J เกิดได้มากกว่า 1 ชนิด ส่วนคลอไรด์ของ E เกิดได้เพียงชนิดเดียว
         ค. ออกไซด์ของ C มีจุดหลอมเหลวสูงกว่าออกไซด์ของ G
         ง. ออกไซด์ของ L ไม่ละลายน้ำ

33.    จากการศึกษาสมบัติของธาตุ X เป็นดังนี้
             1. เป็นของแข็งที่อุณหภูมิห้อง
             2. ทำปฏิกิริยากับแก๊สออกซิเจนได้ออกไซด์เป็นผงขาว ละลายน้ำน้อย
             3. ออกไซด์ของ X ทำปฏิกิริยาได้ทั้งกรดและเบส
         ธาตุ X ควรเป็นธาตุใด
         ก. J                                 ข. C                                 ค. K                            ง. A

34.    เมื่อนำสารประกอบ X ไปเผาบรรยากาศของออกซิเจนพบว่าได้สารประกอบออกไซด์ 3 ชนิด  ออกไซด์ชนิดแรก ทำให้น้ำปูนใสขุ่น ออกไซด์ชนิดที่สอง ทำให้ผลึกสีขาวของ CuSO4 กลายเป็นสีฟ้า และออกไซด์ชนิดที่สามเมื่อละลายน้ำได้สารละลาย pH = 9 สารประกอบ  X ควรประกอบด้วย ธาตุใดบ้าง
          ก. C,H,Na                     ข. C,S,O                           ค. C,H,S                    ง. C,H,N

35.    ธาตุ X อยู่ในหมู่ที่ 7คาบที่ 5 มีการจัดเรียงอิเล็กตรอนและเลขอะตอมอย่างไร
         ก. 28, 8, 18, 7 เลขอะตอม 43                                ข. 2, 8, 18, 18, 7 เลขอะตอม 53
         ค. 2, 8, 8, 32, 7  เลขอะตอม 57                               ง. 2, 8, 18, 32, 7 เลขอะตอม 67

36.    ธาตุอะลูมิเนียมพบมากในที่ใด
         ก.ชั้นเปลือกโลก                                          ข.ชั้นเนื้อโลก
         ค.ที่ราบสูง                                                                   ง.ถูกทุกข้อ

37.    ข้อใดคือประโยชน์ของอะลูมิเนียมทั้งหมด
         ก. ชิ้นส่วนของเครื่องบิน กลอนประตู หน้าต่าง     ข. สายยาง เชือก
         ค. กุญแก ไขขวง                                                            ง.ไม่มีข้อถูก

38.    ถ้าผลไม้ขาดธาตุแคลเซียมบริเวณขั้วหรือข้อต่อจะทำให้เกิดแก๊สอะไร
         ก. แก๊สออกซิเจน            ข. แก๊สเอทีลีน           ค. แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์   ง. ไม่มีข้อถูก

39.    ธาตุแคลเซียมในดินที่มีค่าความเป็นกรด-เบส อยู่ระหว่างข้อใด
         ก. 4.0-7.0                       ข. 3.0-7.0                         ค. 4.0-7.5                  ง. 3.0-7.5

40.    โครเมียมมีลักษณะอย่างไร
          ก. โลหะสีขาวเงินเป็นมันวาว
          ข. โลหะสีขาวเงินไม่เป็นมันวาว
          ค. อโลหะสีขาวเงินเป็นมันวาว
          ง. อโลหะสีเงินไม่เป็นมันวาว

41.    ข้อใดคือประโยชน์ของโครเมียม
         ก.ใช้เป็นส่วนผสมในเหล็ก
         ข. ทำเครื่องมือผ่าตัด
         ค. เกราะกันกระสุน
         ง. ถูกทุกข้อ

42.   ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
          ก. เหล็กเป็นโลหะแทรนซิชันที่พบมากที่สุดในธรรมชาติ
          ข. เหล็กบริสุทธิ์มีสีเทาเป็นมันวาว
          ค. เป็นสนิมได้ยาก
          ง. ถูกทุกข้อ


43.    ชนิดของเหล็กมีอะไรบ้าง
         ก. เหล็กหนัก เหล็กเบา                                            ข. เหล็กบริสุทธิ์ เหล็กกล้า เหล็กเหนียว
         ค. เหล็กกล้า เหล็กเปราะ                                          ง. เหล็กยืดหยุ่น เหล็กหนา

44.    ในทะเลมีธาตุไอโอดีนประมาณเท่าไร
          ก. 0.06 ppm                                                            . 10.0  ppm
          ค. 0.05 ppm                                                            ง.  20.0   ppm

45.     โซเดียมไอโอเดต , แคลเซียมไอโอเดตมีสูตรว่าอย่างไร
           ก. (NaO3),(Ca(IO3)2)                                             ข. H2O       
           ค. CO2                                                                         ง. Al2F4

46.     ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์ ของ ธาตุไนโตรเจน
   ก. ทำปุ๋ย                                                                 ข. สารอาหารของสิ่งมีชีวิต
   ค. แช่แข็งอาหารประเภทต่าง                              ง. ใช้เป็นยาฆ่าแมลง

47.     ไนโตรเจน ในสารประกอบ พบในที่ใด
   ก. อะมิโนโปรตีน                                                   ข. น้ำตาลโมเลกุลใหญ่
   ค. ในอากาศ                                                             ง. ถูกทุกข้อ

48.    ข้อใดถูกต้องที่สุดเกี่ยวกับ ออกซิเจน
           ก. ออกซิเจนไม่สามารถถูกทำละลายได้
           ข. ออกซิเจนนำไฟฟ้าได้เล็กน้อย
           ค. ออกซิเจนไม่สามารถพบในสารประกอบได้
           ง. ออกซิเจนพบมากที่สุดในธรรมชาติ

49.     ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์ของออกซิเจน
          ก. ใช้ในการทำเชื้อเพลิงจรวด
          ข. ใช้เชื่อมหรือตัดโลหะ
           ค. ใช้ในการเกษตร
           ง. ใช้ในการเผาผลาญอาหาร

50.     ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับฟอสฟอรัส
           ก. ธาตุฟอสฟอรัสเป็นธาตุอิสระ                      ข. ฟอสฟอรัส คือ ธาตุหมู่เดียวกับ ไนโตรเจน
           ค. ฟอสฟอรัสเป็นอโลหะ                                 ง. สามารถพบฟอสฟอรัสในไข่แดง

51.     ฟอสฟอรัสชนิดใด นำไฟฟ้าได้เล็กน้อย
          ก. ฟอสฟอรัสขาว ฟอสฟอรัสแดง                                     ข. ฟอสฟอรัสดำ
          ค. ฟอสฟอรัสแดง                                                              ง. ฟอสฟอรัสขาว

52.     ธาตุซิลิกอนยึดเหนี่ยมกันด้วยพันธะอะไร
          ก. โครงร่างตาข่าย
          ข. พันธะไอออนิก
          ค. พันธะโลหะ
          ง. พันธะโควาเลนส์

53.     ประโยชน์ของซิลิกา
          ก. ทำเส้นใยแก้ว,เส้นใยนำแสง
         ข. ใช้ทำระเบิด,ทำไม้ขีดไฟ
          ค. ทำกระป๋องบรรจุอาหาร
          ง. ทำตู้นิรภัย,เครื่องยนต์

54.     ข้อใดคือประโยชน์ของสังกะสี
           ก. ชุบโลหะเพื่อป้องกันสนิม
          ข. ใช้ผลิตยางรถยนต์
           ค. เป็นสารที่ประกอบในหลอดไฟฟูออเรสเซ็น
           ง. ใช้ผลิตท่อน้ำ

55.     ข้อใดถูกต้อง
           ก. ธาตุเรเดียมไม่นำไฟฟ้า
          ข. ธาตุเรเดียมเป็นธาตุกำมันตรังสี
          ค. มีไอโซโทปที่เสถียร
          ง. รังสีแกมมาที่ได้จากการสลายตัวของเรเดียมเป็นตัวการทำให้เซลล์มะเร็งเจริญเติบโต


เฉลยข้อสอบ
1. ค.     2. ข.        3. ค.         4. ค.       5. ข.            6. ค.
7.ค.       8. ก.      9. ค.        10. ง.      11. ค.           12. ก.
13. ค.    14. ค.     15. ค.       16. ง.      17. ค.          18. .
 19. ค.    20. ก.     21. ค.      22. ข.       23. ข.         24. ค. 
25. ค.      26. ก.     27. ง.      8. .         29. ค.          30. .
  31. ง.    32. ข.      33. ค.      34. ก.       35. ข.          36. ก.  
  37. ก.   38. ข.      39. ก.       40.         41. ง.          42. ค.    
 43. ข.     44. ค.    45. ก.          46. ง.      47. ก.          48. ง.    
49. ค.     50. ก       51. ข.         52.  ง.        53. ก.     54. ก.    55.

ข้อสอบ Pat